The Social Dilemma ถอดบทเรียนสื่อสังคมออนไลน์ สู่ภัยอันตรายใกล้ตัว

Social Dilemma

The Social Dilemma เป็นภาพยนตร์ Documentary ของ Netflix ที่ร้อนแรงมากในช่วงนี้ (กันยายน 2563) ภาพยนตร์เล่าถึงความน่ากลัวของสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งโจมตีไปที่ Facebook, Twitter, Instagram, Youtube และอื่นๆ ผู้ให้บริการเหล่านี้ใช้ข้อมูลของเรา เพื่อสร้างรายได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง มันได้สร้างพฤติกรรมหลายอย่างต่อเด็กและเยาวชนของเรา ที่เปลี่ยนแปลงไปเมือเทียบกับยุคก่อนสื่อสังคมออนไลน์

เรามาดูบทเรียนที่ได้จากภาพยนตร์ The Social Dilemma กัน

1. If you are not paying for the product, you are the product.

ถ้าคุณใช้บริการ “ฟรี” ก็ขอให้คิดเสมอว่า คุณคือ “สินค้า” นั่นเอง

เมื่อผู้ให้บริการออนไลน์ไม่ได้รายได้จากผู้ใช้ ดังนั้นผู้ให้บริการก็ต้องไปหารายได้จากแหล่งอื่น นั่นก็คือ “โฆษณา” แล้วผู้จ่ายค่าโฆษณาให้กับผู้ให้บริการก็ต้องการความคุ้มค่าและเข้าถึงผู้ใช้ให้มากที่สุด โดยดูจากพฤติกรรมของผู้ใช้นั่นเอง

ดังนั้น ไม่มีของฟรีจริงๆ ในโลกนะ คุณต้องสูญเสียอะไรบางอย่างไป ในที่นี้ก็คือข้อมูลของคุณนั่นเอง

“I hate the term ‘users’ now,” Parler CEO John Matze told Fox News.

“They made a good point in the film, which was that users are like drug addicts… users are people who are addicted to something. The only two people that call their customers users are drug dealers and social media,” Matze said. “So we are going to be redefining the term ‘user’ anywhere we have it on our app to be ‘people’ or ‘citizens.’”

2. Social Media is Drug.

มีเพียง 2 ธุรกิจที่เรียกลูกค้าว่า “ผู้ใช้” หรือ “User” นั่นคือธุรกิจ Social Media และพ่อค้ายาเสพติด (Drug dealer) จึงไม่แปลกเลยที่จะบอกได้ว่า สื่อสังคมออนไลน์ก็คือยาเสพติด ที่ผู้ให้บริการพยายามให้ลูกค้าหรือผู้ใช้ติด (Addict) แล้วไม่หนีไปไหน เหมือนกับพวกติดยาเลย

เราอยู่ในยุคที่เด็กวัยรุ่นออกเดทลดลงและเด็กพบปะผู้คนลดลง เด็กยุค Gen Z ใช้เวลากับมือถือมากๆ เหมือนเสพติดยาอยู่

3. ปุ่ม Like คือฆาตกร

Justin Rosenstein ผู้ร่วมประดิษฐ์ปุ่ม Like ขณะที่ทำงานให้กับ Facebook เล่าว่า เค้าไม่คิดว่าปุ่ม Like จะทำให้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่นิยม และในขณะเดียวกัน มันทำให้คนรู้สึกหดหู่ด้วย โดยเฉพาะกับเด็ก

เด็กจะเปรียบเทียบจำนวน Like ของโพสต์ตัวเองกับเพื่อนหรือกับโพสต์ที่ผ่านมา ส่งให้ผลในทางลบให้เด็กเกิดอาการหดหู่ จนมีหลายเคสถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาสุขภาพจิตกัน

สถิติเด็กวัยรุ่นเข้าโรงพยาบาลบำบัดจิตจากการทำร้ายตัวเองสูงขึ้น และรวมไปถึงสถิติการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเด็ก 10-14 ปี (Pre-teen) ที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เป็นแนวโน้มที่น่ากลัวมาก แล้วทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังกำเนิดสื่อสังคมออนไลน์

4. โฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ไม่ใช่แค่เพลตฟอร์มวางโฆษณาธรรมดาอีกต่อไป

The Social Dilemma ให้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลของผู้ใช้มีความสำคัญขนาดไหน ยิ่งได้ข้อมูลมากเท่าไร ผู้ให้บริการก็สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของผู้ใช้ได้มากขึ้น

โฆษณาไม่ได้ถูกส่งไปหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเท่านั้น แต่เฟลตฟอร์มจะใช้ AI (Aritificial Intelligent) สร้างโมเดลของผู้ใช้ ด้วยการทดลอง A/B Testing แล้วเปรียบเทียบ ผู้ใช้ไหนที่ถูกชักจูงได้ตามการทดสองก็จะเป็นผู้ชนะและนำไปใช้เป็นโมเดลกับผู้ใช้อื่นๆ

การทดลองนี้จะมีตั้งแต่การส่งเนื้อหาข้อมูล วิดีโอและอื่นๆ เพื่อสร้างความดึงดูด หรือแม้กระทั่งการ Tag ก็ตาม

ทุกครั้งที่เรา Scroll down ผู้ให้บริการจะใช้ Algorithm ประมวลผลว่าวิดีโอหรือเนื้อหาถัดไปที่คุณจะคลิก มันไม่ใช่ความบังเอิญหรือแสดงเนื้อหาเฉพาะกลุ่มแล้ว มันเป็นเนื้อหาสำหรับคุณคนเดียวเลย นี่ยังไม่รวมดูนานแค่ไหน ดูซ้ำ อะไรอีกมากมาย

5. ข่าวปลอม (Fake News) ถูกแชร์มากกว่า ข่าวจริง (True News) ถึง 6 เท่า

หากสถิติเป็นอย่างนี้แล้ว ผู้ให้บริการรายใดอยากที่จะจัดการกับข่าวปลอมล่ะ

ภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นว่าเมือใดที่คุณได้เสพติดเนื้อหานั้นแล้ว เช่น ข่าวใดข่าวหนึ่งซึ่งจะจริงหรือปลอมก็ไม่รู้ แต่ส่วนใหญ่จะปลอมหรือลำเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง สื่อสังคมออนไลน์ก็จะป้อนเนื้อหาในทำนองนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนคุณมโนว่ามันคือความจริง

คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรงข้ามกับคุณก็ดูเนื้อหาอีกชุดหนึ่ง

แล้วนี่จึงเป็นปัญหาให้เกิดความแตกแยกทางสังคม เพราะ Algorithm ที่มันป้อนให้กับพวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรที่แบบทั้งสองฝ่ายได้

เด็กที่คิดว่าตัวเองเป็นโรคทางจิตหรือมีพฤติกรรมแบบใด เมือค้นหาข้อมูลเหล่านั้น เค้าก็จะคิดว่าเค้าเป็นแบบนั้น ทั้งๆ ที่เด็กอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้

6. Engagement, Growth & Monetary (Advertising)

มูลค่าโฆษณาออนไลน์เป็นเม็ดเงินมหาศาลที่ผู้ให้บริการกระโจนเข้าด้วยการสร้างจำนวนผู้ใช้จำนวนมากและให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น มีการแบ่งกลยุทธ์เป็น 3 ส่วน คือ

Engagement – การมีส่วนร่วม เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ เช่น Like, Share, Comment, Post เป็นต้น ยิ่งมีส่วนร่วมมากเท่าไร ผู้ให้บริการก็จะรู้จักผู้ใช้งานมากขึ้น

Growth – การเติบโต เป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน ตั้งแต่การให้คุณกลับมาใช้บ่อยๆ การเชื้อเชิญเพื่อน เป็นต้น

Monetary (Advertising) – รายได้ เป็นการวัดรายได้ที่ได้จากผู้ใช้ ในภาพยนตร์นี้จะเน้นที่รายได้จากโฆษณาเป็นหลัก เราสามารถวัดที่รายได้รวม รายได้ต่อผู้ใช้งาน เป็นต้น

ในแง่ธุรกิจและการตลาด ผมแนะนำให้คุณมีผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนแยกกันไปเลยครับ เช่น Head of Engement, Head of Growth และ Head of Advertising เป็นต้น

โดยสรุป ผมก็อยากให้ทุกคนหาโอกาสชม The Social Dilemma ตามชื่อเรื่อง มันคือทางสองแพร่ง ที่สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและภัยอันตรา อย่างน้อยเราจะเข้าใจมันและป้องกันไม่ให้เกิดกับครอบครัวของเราได้