ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning โดยคุณนาวิก นำเสียง | รายการ 101dotNET (6 มิ.ย. 2563)

รายการ 101dotNET สถานีวิทยุ FM101ในหัวข้อ ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning ร่วมรายการโดยคุณนาวิก นำเสียง CEO บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด ดำเนินรายการโดยคุณพันธุ์ทิตต์ สิรภพธาดา และคุณภานุกร พสุชัยสกุล

สถานีวิทยุ FM101 รายการวิทยุที่นำเสนอสาระความรู้ในแวดวงเทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ไอโอที ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/101dotnet

ระบบบริหารงานขาย (Sales Force Automation) โดยคุณนาวิก นำเสียง | รายการ 101dotNET (11 ก.ค. 2563)

รายการ 101dotNET สถานีวิทยุ FM101ในหัวข้อ ระบบบริหารงานขาย (Sales Force Automation) ร่วมรายการโดยคุณนาวิก นำเสียง CEO บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด ดำเนินรายการโดยคุณพันธุ์ทิตต์ สิรภพธาดา และคุณภานุกร พสุชัยสกุล

สถานีวิทยุ FM101รายการวิทยุที่นำเสนอสาระความรู้ในแวดวงเทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ไอโอที ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/101dotnet

เพิ่มยอดขายด้วยหน้า Landing Page

            หลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหน้า Landing Page หรือ หน้าลงจอด สักเท่าไร คุณอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหน้า Landing Page คืออะไร แล้วสามารถเพิ่มยอดขายให้กับคุณได้อย่างไร?

            หน้า Landing Page คือหน้าแรกที่แสดงผล หลังจากที่ผู้เข้าชมคลิก URL ที่ผ่านมาจากโฆษณาออนไลน์ ทั้งแบนเนอร์หรือข้อความ ผ่านทางบล็อกที่คุณเขียน หรือ ผ่านทางสื่อออฟไลน์ด้วยก็ได้ เนื่องจากมันเป็นหน้าแรกที่แสดงผล มันจึงมีความสำคัญอย่างมาก มันเป็นโอกาสเดียวที่คุณจะสามารถขายของหรือแนะนำสินค้า บริการหรือโปรโมชั่นของคุณ อย่างน้อย ผู้เข้าชมก็ต้องมีความสนใจในสินค้า บริการ หรือโปรโมชั่นของคุณอยู่แล้ว พวกเขาถึงได้คลิกโฆษณานั่นมายังหน้า Landing Page ของคุณ

            ดังนั้น หน้า Landing Page จึงจะต้องมีความพิเศษกว่าหน้าอื่นๆ และไม่แนะนำให้ใช้หน้า Home Page เป็นหน้า Landing Page ด้วย เพราะหน้า Home Page จะมีเนื้อหามากมาย อาจจะทำให้ผู้เข้าชมสับสนได้

            การเพิ่มยอดขายด้วยหน้า Landing Page จะต้องมีกลยุทธ์พิเศษที่จะเปลี่ยนจากความสนใจมาเป็นลูกค้าของคุณได้ให้ หน้า Landing Page ที่ดีควรจะมีคุณลักษณะดังนี้

  1. เนื้อหาจะต้องสัมพันธ์กับโฆษณา ผู้เข้าชมมาหน้า Landing Page เพราะว่าสนใจโฆษณาของคุณ ถ้าหน้า Landing Page ไม่ได้พูดถึงเนื้อหาเดียวกับที่โฆษณา พวกเขาก็จะผิดหวังแล้วคุณก็จะเสียโอกาสการขายนั้นทันที ถึงแม้ว่าคุณอาจจะมีสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่ดีกว่า แต่พวกเขาก็อาจจะไม่สนใจอยู่ดี เหมือนเราไปหลอกให้คลิกมายังเว็บไซต์ของคุณ
  • เนื้อหาต้องโดน ข้อนี้ก็สำคัญอย่างมาก เนื้อหาในโฆษณาอาจจะมีจำกัด ดังนั้น คุณจะมีพื้นที่อีกมากในหน้า Landing Page จะบอกสิทธิประโยชน์ต่างๆ เนื้อหาที่โดนได้แก่
  • ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เขียนให้ชัดๆ แต่ไม่ต้องเยอะมาก เพราะลูกค้าไม่ชอบอ่าน รูปภาพจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
  • เนื้อหาที่กระตุ้นให้อยากซื้อ หลายครั้งที่การตัดสินใจซื้อมักจบด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล คุณจะต้องสร้างเนื้อหาที่กระตุ้นอารมณ์ของความอยากซื้อ เช่น ความทันสมัยที่พลาดไม่ได้ ความกลัวที่จะทำให้เสียโอกาส หรืออาจจะเป็นคำบอกเล่าจากลูกค้าที่เคยใช้สินค้าบริการมาก่อน เป็นต้น
  • โปรโมชั่นแรงๆ โปรโมชั่นก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะแปลงผู้เข้าชมเป็นลูกค้า คุณอาจจะต้องใช้โปรโมชั่นแรงๆ สำหรับลูกค้าใหม่ของคุณ ทั้ง ลด แลก แจก แถม
  • สุดท้าย รูปภาพโดนๆ บางทีคำอธิบายเป็นร้อยเป็นพันคำอาจจะไม่เท่ากับรูปภาพเพียงภาพเดียว ควรจะเลือกรูปภาพที่โดน เมือลูกค้าเห็นแล้วอยากจะซื้อสินค้าของคุณทันที
  • ปุ่ม Call-to-Action จะต้องเด่นและใหญ่ ปุ่ม Call-to-Action หมายถึงปุ่มหรือลิงค์ที่ต้องการให้ลูกค้าคลิกหลังจากที่อ่านละเอียดแล้วทั้งหมด บางครั้งอาจจะหมายถึงหมายเลขโทรศัพท์ให้โทรก็ได้ ปุ่ม Call-to-Action นี้จะต้องใหญ่และเด่น อาจจะต่อท้ายจากรายละเอียดและมีมากกว่าหนึ่งจุดก็ได้ คุณควรจะใช้คำที่จูงใจให้อยากคลิกปุ่ม เช่น ฟรี ขอรับสิทธิพิเศษ เป็นต้น หรือ เร่งรัดด้วยเวลา เช่น เดี๋ยวนี้ สมัครด่วนจำนวนจำกัด เป็นต้น
  • สร้างความน่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่ ลูกค้ามายังหน้า Landing Page ด้วยโฆษณาออนไลน์หรือบล็อก บางทีเค้าก็ไม่รู้จักบริษัทของคุณด้วยซ้ำ ดังนั้น คุณจะต้องสามารถความน่าเชื่อถือให้พวกเขาเห็น เช่น ระบุชื่อบริษัทที่ชัดเจน สถานที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น ควรใช้ URL ที่เป็นโดเมนของบริษัทก็จะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า การใช้โลโก้ของคู่ค้าหรือประกาศนีย์บัตรก็จะช่วยสร้างความมั่นใจในสินค้าได้ ธุรกรรมออนไลน์ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับบ้านเรา ลูกค้าอาจจะมีความกังวลว่าจะถูกหลอกได้
  • ออกแบบให้ Keep it Simple ให้หน้า Landing Page ดูแล้วสบายตา ลูกค้าจะไม่ชอบอ่านข้อความยาวๆ การนำเสนอด้วยรูปภาพและวิดีโอจะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ เน้น Navigation ที่ดีและรองรับทั้งหน้าจอ Desktop และ Mobile ด้วย
  • เพิ่มโอกาสในการแชร์ คุณอาจจะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าที่สนใจบอกต่อผ่านสังคมออนไลน์ ด้วยการเพิ่มปุ่มแชร์ อาจจะใช้ของ AddThis หรือ ShareThis ก็ได้ แค่นี้แคมเปญของคุณก็จะกระจายให้รู้จักมากยิ่งขึ้น
  • สุดท้าย ความเร็วในการโหลดหน้า Landing Page คุณจะต้องทดสอบหน้า Landing Page ว่าสามารถเข้าถึงหรือโหลดทั้งหน้าด้วยความเร็วที่เร็วพอหรือไม่? บางครั้งคุณอาจจะใช้รูปภาพที่ใหญ่เกินไป โฮสติ้งที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้คุณเสียโอกาสและเสียเงินโฆษณาไปเปล่าๆ ลองทดสอบด้วยเครื่องมือ PageSpeed Insights ของ Google (https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/) ที่จะให้คะแนนความเร็วและก็แนะนำปรับปรุงให้เร็วยิ่งขึ้น

            จากนี้ไปหน้า Landing Page ของคุณจะทำเงินให้คุณมากยิ่งขึ้น จะทำให้คุณประหยัดงบโฆษณาออนไลน์ได้อีกมาก

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

Work From Home (WFH) | รายการ 101dotNET ( 9 พ.ค. 2563 )

รายการ 101dotNET สถานีวิทยุ FM101ในหัวข้อ Work From Home (WFH) ร่วมรายการโดย คุณนาวิก นำเสียง CEO บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด ดำเนินรายการโดยคุณพันธุ์ทิตต์ สิรภพธาดา และคุณภานุกร พสุชัยสกุล สถานีวิทยุ FM101รายการวิทยุที่นำเสนอสาระความรู้ในแวดวงเทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ไอโอที ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/101dotnet

พัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้า (ROR) อย่างไรดี?

วันนี้ ธุรกิจมักให้ความสำคัญกับผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Return on Investment (ROI) ไม่ว่าจะมาจากการลงทุนจากการตลาด จากการวิจัยผลิตภัณฑ์ หรืออื่นๆ

แต่ยังมีอีกผลตอบแทนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยต่อความมั่นคงของแบรนด์และค่าความนิยม (Goodwill) ที่ได้มาจากลูกค้า เรียกว่า ผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Return on Relationship (ROR)

ทำไมความสัมพันธ์กับลูกค้าถึงมีความสำคัญอย่างมาก?

ลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์หายากขึ้น ลูกค้าไม่ไว้วางใจต่อแบรนด์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ลูกค้ามองหาความคิดเห็นจากคนอื่นๆ โดยฉพาะในสังคมออนไลน์

ความคิดเห็นเหล่านี้มาจากหลากหลายแหล่ง เช่น การรีวิวสินค้า เพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ห้องสนทนาออนไลน์ เป็นต้น ความคิดเห็นจะมีทั้งชื่นชมและตำหนิในแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ

แล้วคุณจะรับมือกับลูกค้าที่ไม่เชื่อถือในแบรนด์หรือธุรกิจของคุณได้อย่างไร เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกันต่อไป

กลยุทธ์ในการใช้การส่งข้อความหรือสื่อโฆษณาไปยังลูกค้า เพื่อตอกย้ำความน่าเชื่อถืออาจจะทำได้ไม่ยาก แต่ผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าจะคุ้มค่ามั้ย การสร้างความน่าเชื่อถือไม่สามารถใช้ข้อความประสัมพันธ์และสื่อโฆษณาเพียงอย่างเดียวได้

ลองกลยุทธ์เหล่านี้ว่าจะช่วยคุณพัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากเพียงใด

เริ่มง่ายๆ ที่สร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

คุณจะต้องสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ขาย การตลาด บริการ การเงิน บัญชี หรือทุกคน ให้เห็นว่าคนละเล็กละน้อยสามารถสร้างพลังและสร้างความไว้วางใจที่ดีต่อลูกค้าได้

จากนั้น คุณจะต้องกำหนดดัชนีความพึงพอใจของลูกค้าเป็นเป้าหมายหลักและประกาศให้พนักงานทุกคนได้ทราบอย่างทั่วถึง เพื่อจะได้มีเป้าหมายเดียวกัน แล้วเข้าใจได้ว่ามูลค่าตลอดช่วงชีวิตที่ลูกค้ามีต่อบริษัทมีความสำคัญอย่างไรและจะได้มาได้อย่างไร

เน้นความสำคัญของการบริการลูกค้า

ธุรกิจมักให้ความสำคัญและงบประมาณไปกับสื่อโฆษณาและแคมเปญการตลาดเพื่อได้ลูกค้าใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนในการบริการลูกค้าน้อย อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี้ลูกค้าจะติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าก่อนที่จะซื้อสินค้าและบริการจากคุณอีก

ถ้าการบริการลูกค้าที่ไม่ดี คุณอาจจะเสียทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันได้ เพราะลูกค้ายิ่งไม่ไว้วางใจในแบรนด์ของคุณและมองหาคู่แข่งที่มีบริการที่ดีกว่า

ลงทุนในเทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า

การสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้าสามารถพัฒนาด้วยการปรับปรุงกระบวนการและอบรมพนักงานที่ต้องพบกับลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ พนักงานจะต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้า เข้าถึงลูกและประสานงานภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น

  • ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าต่อแบรนด์ (Social Media Sentiment Analysis)
  • ระบบประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้า
  • ระบบสื่อสารและประสานงานภายในและภายนอกองค์กร

ออกแบบจุดสัมผัสบริการใหม่

จุดสัมผัสบริการ หรือ Touchpoints มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างประทับใจและสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า พิจารณาจุดสัมผัสบริการที่เรามีว่าสามารถตอบสองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่? แล้วพิจารณาความต้องการของลูกค้าอย่างไร

  • คำถามที่ลูกค้ามักจะถาม?
  • อะไรคือปัญหาที่ลูกค้าพบ?
  • แล้วจุดสัมผัสบริการจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?
  • ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ ว้าว!

บางทีคุณอาจจะต้องออกแบบคำพูดของพนักงานใหม่ ออกแบบอีเมล์ที่ส่งให้ลูกค้าใหม่ เปิดเพลงด้วยบรรยากาศที่ดีขึ้น แล้วมันจะสร้างประสบการณ์ ว้าว! ให้กับลูกค้าได้

ช่วยทุกคนบนสื่อสังคมออนไลน์

ทุกจุดสัมผัสบริการไม่สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้หมด ดังนั้น คุณจะต้องทบทวนเนื้อหาในเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของคุณว่ามีครบถ้วนเพียงพอ

ทีมงานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณจะต้องช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทันท่วงที อย่าให้การตอบช้าเป็นอุปสรรคต่อโอกาสการขายของคุณ งานนี้รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ด้วยที่คุยถึงแบรนด์ของคุณอยู่

สุดท้าย สร้างแฟนพันธ์แท้ (Loyal Brand Ambassador)

การลงทุนไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าก็เพื่อที่จะได้ลูกค้าแฟนพันธ์แท้ที่จะช่วยขยาย ส่งต่อหรือแชร์ข้อความประชาสัมพันธ์ไปยังเพื่อนๆ และช่วยปกป้องแบรนด์ของคุณเมือเกิดปัญหา

ลองใช้กลยุทธ์ข้างต้นแล้วสร้างแฟนพันธ์แท้ให้มากขึ้น รับรองได้ว่าคุณจะพัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างคุ้มค่า

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

การตลาดที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์

            การได้มาซึ่งลูกค้าหรือการแปลงแปลงจากผู้สนใจเป็นลูกค้า (Conversion) ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการตลาด บ่อยครั้งที่นักการตลาดมักจะพิจารณากลยุทธ์ไปในข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป เช่น มุ่งเน้นการตลาดออนไลน์อย่างเดียวโดยลืมไปว่าลูกค้าเดียวกันนี้อาจจะติดต่อธุรกิจผ่านทางออฟไลน์ด้วยก็ได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากธุรกิจ

            ผมขอนิยามง่ายๆ เกี่ยวกับการออนไลน์และออฟไลน์นิดเพื่อความเข้าใจร่วมกัน

            “ออนไลน์” ในที่นี้หมายถึงกิจกรรมหรือสื่อการตลาดที่ธุรกิจสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางสมัยใหม่ที่เรียกว่า สื่อออนไลน์ (Online) ได้แก่ เว็บไซต์ โมบายแอฟ สื่อสังคมออนไลน์ ไลน์ เป็นต้น แน่นอนว่า ออนไลน์ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการตลาดวันนี้ เพราะความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าอย่างไร้พรมแดน การสื่อสารกับลูกค้าแบบ 1-ต่อ-1 การวัดผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ ต้นทุนที่ไม่สูง และอีกมากเมือเทียบกับออฟไลน์

            “ออฟไลน์” หมายถึงกิจกรรมหรือสื่อการตลาดแบบดั่งเดิม โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการตลาดแบบวงกว้าง ไม่จงเจาะ อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ งานอีเวนต์ เป็นต้น แต่ก็มีบ้างที่เป็นกิจกรรมแบบการตลาดเจาะจง เช่น พนักงานขาย งานอีเวนต์เฉพาะกลุ่มลูกค้า ไดเร็คเมล์ เป็นต้น การตลาดออฟไลน์จะใช้ต้นทุนที่สูงและได้รับผลตอบรับที่น้อยกว่าการตลาดออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เสมอไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำการตลาดออฟไลน์ไปใช้อย่างเหมาะสมมากกว่า

            หัวใจสำคัญของการตลาดในวันนี้คือการผสมผสานการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน มองให้ทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว เป้าหมายเพื่อให้ได้ลูกค้ามากที่สุดหรือรายได้สูงสุด

            แนวคิดใหม่ของกลยุทธ์ธุรกิจวันนี้ บริษัทจะต้องเริ่มบริการกับลูกค้าตั้งแต่กระบวนตัดสินใจซื้อของลูกค้า ไม่ใช่ต้องเป็นลูกค้าเสียก่อนถึงจะให้บริการได้ จากงานวิจัยของ Forrester ในปี พ.ศ.​2559 พบว่า ร้อยละ 53% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจหรือยกเลิกการซื้อถ้าไม่ได้รับบริการหรือได้รับคำตอบที่ดีจากแบรนด์ ดังนั้น หน่วยบริการลูกค้าจะต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสียก่อน มิฉะนั้น ธุรกิจอาจจะขายสินค้าหรือบริการไม่ได้เลย

            เหล่านี้คือความจริงที่ธุรกิจควรจะนำมาพิจารณาผสมผสานระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์

#1 ผู้บริโภคใช้อุปกรณ์สื่อสารมากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ในการตัดสินใจซื้อ

            จากผลการวิจัยของ Google พบว่าร้อยละ 90 ของผู้บริโภคจะใช้อุปกรณ์สื่อสารมากกว่าหนึ่งหน้าจอ เช่น สมาร์ทโฟน แท็ปแล็ต คอมพิวเตอร์เดสท็อป ทีวี เป็นต้น ในแต่ละวันของกิจกรรมการซื้อสินค้า ไม่ว่าเป็นการค้นหาโรงแรม ช็อปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น

            นักการตลาดจะต้องสื่อสารไปยังผู้บริโภคและปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่สามารถรองรับหลากหลายอุปกรณ์ให้ได้ เช่น โฆษณาบน Facebook ที่รองรับทั้งสมาร์ทโฟนและคอมพวิเตอร์เดสท็อป และโฆษณาเดียวกันนี้ให้ปรากฏในสื่อวิดีโอทั้ง Youtube และ Facebook ด้วย

            ด้วยการครอบคลุมพื้นที่หน้าจอและอุปกรณ์นี้ก็จะทำให้สื่อของเราเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น โอกาสที่จะแปลงผู้สนใจเป็นลูกค้าก็มีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

#2 อย่าลืม Click-to-call

            Click-to-call คือปุ่มหรือลิงค์ที่ให้ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้ด้วยการโทรศัพท์ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยังถนัดที่จะคุยมากกว่าพิมพ์ ดังนั้น ช่องทางสื่อสารแบบเดิมคือการสนทนาทางโทรศัพท์ด้วยคอลล์เซ็นเตอร์ก็ยังมีความสำคัญอยู่ เพียงแต่เราสื่อสารไปยังผู้บริโภคออนไลน์ให้ทราบว่าพวกเขาสามารถคุยกับคอลล์เซ็นเตอร์ได้อย่างรวดเร็วด้วยปุ่ม Click-to-Call นะ ปุ่มนี้สามารถใช้กับสื่อโฆษณาออนไลน์ได้ทั้งหมดเช่นกัน

#3 คิดถึงการตลาดด้วยพิกัดพื้นที่

            เนื่องจากผู้บริโภคค้นหาสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟนเป็นส่วนใหญ่ การใช้การตลาดด้วยพิกัดพื้นที่ (Location based marketing) ก็มีความสำคัญไม่น้อย เมือไรผู้บริโภคค้นหาสินค้าและบริการในพื้นที่บริการของคุณ คุณก็สามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคให้มาใช้บริการได้ ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าต้องมีความประทับใจในความสะดวกเป็นอย่างมาก

            การสื่อสารด้วยพิกัดพื้นที่ก็สามารถทำได้ง่ายด้วยความสามารถของสื่อโฆษณาของ Facebook และ GDN โดยที่คุณไม่ต้องเป็นกูรูก็สามารถทำเองได้เช่นกัน

#4 ต้องผสมสสานอย่างแท้จริง

            การผสมผสานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์อย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่าย คุณอาจจะต้องเริ่มต้นที่กลยุทธ์ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยี CRM ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้อย่าง 360 องศาไม่ว่าลูกค้าจะปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจในช่องทางใดๆ

มันจะวิเศษมาก ถ้าพนักงานขายสามารถทราบได้ว่าลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านกำลังสนใจสินค้าอะไรอยู่ ลูกค้านี้เคยดูสินค้าอะไรบ้างในเว็บไซต์ของบริษัท และลูกค้านี้เคยสัมผัสหรือจับต้องสินค้าอะไรในร้าน สุดท้าย มันก็จะดีมากๆ ถ้าบริษัทมีระบบแนะนำพนักงานขายว่าเขาควรจะแนะนำสินค้าอะไรให้กับพนักงานคนนี้ด้วยโปรโมชั่นอะไร

นี่แหละที่จะบอกว่ามันต้องเป็นการผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างแท้จริง คลิปนี้จะทำให้เข้าใจมากขึ้นนะ https://goo.gl/134Pv7

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

กลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ไม่ควรพลาด (2)

            ต่อจากตอนที่แล้วที่เกริ่นแนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่จำเป็นของกลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ประกอบไปด้วย

  • Facebook Video
  • Live Video
  • โพสเนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

ฉบับนี้เรามาติดตามกันต่อกับเครื่องมือของเฟซบุ๊คที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเหนือสื่อออนไลน์อื่นๆ สำหรับปี พ.ศ. นี้

ใช้เฟซบุ๊คเพจเพื่อบริการลูกค้า

            เฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) ได้กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งมีจำนวนผู้ชื่นชอบมากเท่าไร ลูกค้าก็ยิ่งใช้เป็นช่องทางในการขอรับบริการมาขึ้นเท่านั้น เพราะความสะดวกในการสื่อสาร

            จากงานวิจัยของ Forrester ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าร้อยละ 53 ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าและบริการ หากไม่ได้รับการตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการบริการจึงไม่ได้อยู่ที่การบริการหลังการขายเท่านั้น แต่การบริการจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการขาย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของการตัดสินใจซื้อสินค้า

            เฟซบุ๊คเพจจะมีบอกความรวดเร็วในการตอบคำถามด้วย ซึ่งบ่งบอกถึงมาตรฐานการให้บริการผ่านช่องทาง Facebook Messenger ด้วย

ผู้ชมที่คล้ายกัน (Lookalike Audience)

            ทุกวันนี้ความท้าทายของธุรกิจคือการลูกค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ที่มีคุณภาพ มีโอกาสที่จะปิดการขายได้รวดเร็ว ดังนั้น ความสามารถในการสร้างลูกค้ามุ่งหวังที่คล้ายกันกับลูกค้าของคุณจึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้ เพียงแค่คุณจะต้องมีโปรไฟล์ลูกค้าของคุณเสียก่อน ซึ่งมาจากฐานข้อมูลจากระบบ CRM แล้วนำเข้าระบบของเฟซบุ๊ค หรือมาจากโปรไฟล์ของผู้ชื่นชมเพจของคุณก็ได้

            หลังจากนั้นคุณก็สามารถโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ชมที่คล้ายกันได้ วิธีนี้เราสามารถได้ลูกค้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าด้วยวิธีการลงโฆษณาแบบระบุโปรไฟล์ด้วยเสียอีก

สุดท้าย… แนะนำให้ใช้ Message Bots

            Message Bots เป็นเพลทฟอร์มของเฟซบุ๊คที่ช่วยสร้าง “บ็อท” เหมือนโปรแกรมให้พูดคุยกับลูกค้าได้ จะว่าไปก็เหมือนเราสนทนากับ Siri ของ iPhone ที่เราจะต้องกำหนดรูปแบบการโต้ตอบด้วย Send/Receive API

            ด้วยความสามารถของบ็อทนี้ ลูกค้าก็จะได้รับประสบการณ์ที่ดีด้วยการตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญมันยังช่วยรับคำสั่งซื้อของคุณได้อีกด้วย เปรียบเสมือนมีพนักงานโต้ตอบการสนทนาแบบไม่จำกัดคนเลย

            เฟซบุ๊คเปิดเผยว่าขณะนี้มีบ็อทมากกว่า 100,000 บ็อทที่ใช้งานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่บ็อททำอะไรบ้าง

  • สร้างการรับรู้ของแบรนด์
  • หาลูกค้าใหม่
  • ปิดการขาย รับคำสั่งซื้อ
  • ให้บริการหลังการขาย

ด้วยบ็อทจะทำให้ซื้อขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในอนาคต เฟซบุ๊คก็ออกแบบการเชื่อมต่อด้วย API ให้มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น การนำ Big Data มาใช้จะทำให้บ็อทเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ที่มีประสิทธิภาพและช่วยธุรกิจได้อย่างแน่นอน

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

กลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ไม่ควรพลาด (1)

            ในฐานะเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Facebook นักการตลาดคงจะไม่พลาดที่จะวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ Facebook เป็นแน่ ที่จะช่วยเสริมสร้างแบรนด์และสร้างยอดขายให้กับธุรกิจมากขึ้น

            Facebook ไม่ใช่เพียงเครื่องมือที่ช่วยให้พวกเราสื่อสารซึ่งกันและกันเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ต่างๆ ได้ และสามารถเป็นสื่อโฆษณาที่ทรงพลังไม่น้อยหน้าหรืออาจจะดีกว่าสื่อโฆษณาออนไลน์อื่นๆ ด้วยซ้ำ

            อย่างไรก็ตาม ด้วยความหลากหลายในความสามารถของ Facebook ก็มิได้หมายความว่าเราจะใช้ความสามารถเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จได้ทั้งหมด จริงแล้วมันจะมีเพียงไม่กี่เครื่องมือที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเหนือสื่อออนไลน์อื่นๆ ที่จะขอแนะนำต่อไปนี้

เริ่มต้นจาก Facebook Video

            มากกว่า 100 ล้านชั่วโมงของวิดีโอคลิปที่ถูกชมในแต่ละวันผ่าน Facebook ซึ่งไม่น้อยหน้าไปกว่า Youtube เลย แล้ววันนี้ Facebook Video กลายเป็นอีกหนึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมากบน Newsfeed จนสามารถสร้างรายได้โฆษณาให้กับ Facebook ได้มากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่แบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะใช้ Facebook Video เป็นหนึ่งกลยุทธ์เนื้อหา

            แบรนด์ต่างๆ จะสร้างวิดีโอคลิปมากขึ้น เพราะแนวโน้มการชมวิดีโอผ่านโมบายมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น โดยอีกแนวโน้มที่เกิดขึ้นคือการชมวิดีโอโดยไม่เปิดเสียงแต่จะอ่านจากคำบรรยานแทนเสียง (Caption) แทน ดังนั้น วิดีโอของคุณควรจะมีคำบรรยายแทนเสียงเป็นทางเลือกด้วย

            อีกเทคนิคหนึ่งที่ไม่ควรพลาดก็คือต้องใช้เป็น Native Video ด้วย หมายความว่าคุณจะต้องอัพโหลดวิดีโอของคุณผ่าน Facebook ไม่ใช่ใช้วิดีโอที่อยู่ในแพลตฟอร์มอื่น เช่น Youtube แล้วโพสใน Facebook อีกที ด้วย Native Video คุณจะมีได้อัตราการแชร์ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 1055 (1055%) เลยทีเดียว ดังนั้นถ้าคุณมีทั้ง Facebook Page และ Youtube Channel คุณก็จะต้องอัพโหลดแยกกันทั้งสองแพลตฟอร์ม

Live video

            เราชื่นชมในความสามารถของ Facebook Video กันไปแล้ว แต่ช้าก่อน เพราะ Live Video ของ Facebook มีความสามารถยิ่งกว่าอีก Live Video มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า สามารถดึงให้ผู้ชมให้ชม Live Video ได้นานกว่า Facebook Video ถึง 3 เท่า ด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ต ผู้บริโภคก็สามารถรับชม Video Streaming ของ Live Video ได้ง่ายขึ้นโดยไม่มีอาการสะดุด

            Live video มีความสร้างสรรค์และให้ความเป็นกันเองได้มากกว่าวิดีโอปกติ สามารถสื่อสารกันแบบทันทีทันใดในขณะนั้นได้เลย เรียกว่า โต้ตอบกันได้แบบสดๆ เลยทีเลย เทคนิคใช้ ดารา เซเลบริตี้หรือคนดังเป็นตัวแทนของแบรนด์แล้วมาถ่ายทอดสดด้วย Live Video ก็ได้ความสนใจไม่น้อย สามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นอย่างดี อีกอย่างการเล่าเรื่องเป็นเรื่องราวหรือซีรีย์ก็ได้รับนิยมไม่ใช่น้อย

โพสเนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

            ทุกครั้งที่เราโพสเนื้อหานอกเหนือจากเราจะให้สาระความรู้กับผู้ชื่นชอบแล้ว บางครั้งเราควรจะนำเสนอสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราโพสด้วย เช่น ถ้าเรากำลังพูดถึงความสำคัญของการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) เราก็สามารถแนะนำสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับโซลูชั่น CRM ไปด้วย อย่างน้อย มันก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ให้ผู้ชื่นชมสามารถตัดสินใจใช้บริการจากเรา

            กลยุทธ์นี้ไม่ได้เป็นการขายของแบบ Hard sell เราไม่ได้ยัดเยียดเนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราโดยตรง ดังนั้น ผู้อ่านยังสามารถช่วยแชร์เนื้อหาได้อีกด้วยและเพิ่มโอกาสให้เราสามารถขายสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

            ฉบับหน้าจะมาดูความสามารถอื่นๆ ของ Facebook ที่ไม่ควรพลาดในปีพ.ศ. นี้

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

สร้างลูกค้าชั่วชีวิต

            คำว่า “ชั่วชีวิต” นั่นหมายถึง ตลอดกาล ตลอดชีพ ตลอดชีวิต ในแง่ของลูกค้าหนึ่งราย เรากำลังจะหมายถึงลูกค้าชั่วชีวิตที่จะต้องอยู่กับเรามากกว่า 60-70 ปี เลยทีเดียว

            บางคนอาจจะบอกว่าเราเลือกที่จะไม่รับใครเป็นลูกค้าชั่วชีวิตของเราก็ได้นิ ทำไมจะต้องแคร์ลูกค้าที่ไม่สร้างกำไรหรือไม่มีรายได้ให้กับเราด้วยล่ะ คำตอบมีทั้งใช่และไม่ใช่

            ธุรกิจยุคใหม่ ลูกค้าสำคัญของคุณไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของคุณมากที่สุด หรือเป็นลูกค้าที่เยี่ยมชมร้านของคุณมากที่สุดเสมอไป วันนี้ ลูกค้าสำคัญของคุณกลายเป็นลูกค้าที่มีเสียงดังที่สุด ดังในที่นี้ เราหมายถึงเสียงดังในสื่อสังคมออนไลน์ พวกเขาอาจจะซื้อสินค้าของคุณน้อยแต่สามารถเป็นกระบอกเสียงแนะนำสินค้าของคุณในแง่ดี ช่วยคุณขายสินค้าและบริการแบบไม่มีค่าจ้างใดๆ และในทางตรงข้าม พวกเขาอาจจะโวยวายในสื่อสังคมออนไลน์จนแบรนด์ของคุณเสียหายได้เช่นกัน ดังนั้นคุณคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหาลูกค้าชั่วชีวิตของคุณให้ได้และจะดูแลอย่างไรให้ดีที่สุดในต้นทุนที่ไม่สูง

            “ลูกค้า” ในที่นี้จะรวมไปถึงลูกค้ามุ่งหวังที่ยังไม่เคยซื้อสินค้าและบริการจากคุณเลย จนไปถึงลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าและบริการจากคุณ ดังนั้น การดูแลลูกค้าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เริ่มจากกระบวนการได้มาซึ่งลูกค้าเสียก่อน

            เดิมเรามักจะยึดติดกับช่องทางขาย (Sales Funnel) ที่ลูกค้าจะเริ่มจากลูกค้ามุ่งหวัง (Lead) ก่อน แล้วบริษัทฯ จะพิจารณาว่าลูกค้ามุ่งหวังนี้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นลูกค้าหรือไม่ เพื่อแปลงเป็นโอกาสการขายให้พนักงานขายติดตามการขายต่อไป ในสถานะนี้ของลูกค้า ฝ่ายขายจะประคบประหงมลูกค้าเป็นอย่างดีและฝ่ายการตลาดก็จะไม่พลาดที่จะติดตามลูกค้ามุ่งหวังนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่าแคมเปญที่ออกไปประสบความสำเร็จ ด้วยกลยุทธ์แบบนี้ คุณสามารถได้ลูกค้าชั่วชีวิตหรือไม่?

            แต่ในวันนี้ ธุรกิจให้ความสำคัญกับรายได้ต่อเนื่อง (Recurring revenue) มากขึ้น รายได้ที่มาจากลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แบบเดิมที่จะดำเนินธุรกิจแบบหมาล่าเนื้ออีกต่อไป โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์ที่ช่วยให้บริษัทสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ตลอดเวลาและสามารถสร้างรายได้ได้ทุกเมือทุกที่ตราบใดที่ลูกค้ายังอยู่บนโลกออนไลน์ การใช้ช่องทางขาย (Sales Funnel) แบบเดิมต้องเปลี่ยนแปลางไป ฝ่ายการตลาดไม่ใช่เพียงให้ความสำคัญกับสถานะใดสถานะหนึ่งของลูกค้าเท่านั้น แต่ฝ่ายการตลาดจะต้องสร้างความผูกพัน (Engagement) กับลูกค้าตลอดเส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้ายังคิดถึงแบรนด์เราเสมอและพร้อมที่จะแปลงเป็นการซื้อต่อไป

            ลูกค้าอาจจะเห็นโฆษณาของสินค้าแล้วเดินไปที่ร้านค้า กลับมาบ้านเพื่ออ่านรีวิวของบล็อกเกี่ยวกับสินค้าและเปรียบเทียบสินค้ากับผู้ขายอื่นๆ ลูกค้าอาจจะถามเพื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แล้วกลับมาเว็บไซต์เพื่อสั่งซื้อสินค้า เหล่านี้เรียกว่า เส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) ที่เราก็ไม่รู้หรอกว่าลูกค้าจะเดินเส้นทางใดและอย่างไร แต่ในฐานะธุรกิจ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ตลอดเส้นทาง

            การสร้างเนื้อหาและมีทรัพยากร เช่น เจ้าหน้าที่ให้บริการทางออนไลน์ เว็บไซต์ที่รองรับคำถามจากลูกค้า เป็นต้น ที่เพียงพอจะช่วยสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ลูกค้าจะเปรียบเทียบสินค้าของเรากับคู่แข่งเสมอก่อนการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบก็มีความสำคัญไม่น้อย

            การขายยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันกับลูกค้า ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะต้องมีเครื่องมือที่จะสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ สามารถดูข้อมูลลูกค้าได้ 360 องศา วิเคราะห์โอกาสการขายที่เป็นไปได้กับลูกค้าแต่ละราย เพื่อการขายเพิ่ม ขายซ้ำ และสุดท้ายลูกค้าก็มีความสุข พึงพอใจในบริการของบริษัท

ตัวอย่างนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยสร้างลูกค้าชั่วชีวิต หวังว่าการสร้างความผูกพันกับลูกค้านี้จะสามารถสร้างรายได้ สร้างคุณค่าของลูกค้าและสุดท้ายกำไรของธุรกิจในที่สุด

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

โมบาย… ต้องมาก่อน

            หลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่เรียกว่าสมาร์ทโฟนหรือโมบายอย่างมาก ด้วยการใช้โมบายเพื่อท่องอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่น มากกว่า 5.7 ชั่วโมงต่อวัน (ข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 2015 Q4) หรือจะกล่าวกันง่ายๆ ว่าผู้บริโภคถือโมบายตลอดเวลา เพียงแต่ว่าจะใช้งานเมือไรเท่านั้นเอง

            ด้วยจำนวนโมบายที่เติบโตมากขึ้นและมากกว่าประชากรของโลก จึงเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วนักการตลาดควรจะเข้าถึงผู้บริโภคผ่านโมบายอย่างไรดี กลยุทธ์ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่า Mobile-first หรือ โมบายต้องมาก่อน นักการตลาดจะต้อง พัฒนาธุรกิจใหม่ด้วยโมบายควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

เราควรจะพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น (Mobile Application) หรือ เว็บไซต์ที่รองกับโมบาย (Mobile-responsive site) ดี?

            จริงแล้วมันมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ที่นักการตลาดควรจะต้องทราบ เพื่อการตัดสินใจแนวทางที่ถูกต้องในอนาคต

            ก่อนอื่น ธุรกิจต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกรรมผ่านโมบาย หรือ mCommerce กำลังเติบโตและ… อย่างรวดเร็วด้วย จากรายงานของ Mobile Marketing Association ในปี 2553 ระบุว่า ร้อยละ 6 ของผู้บริโภคมีธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการผ่านโมบาย โดยมีเพียงร้อยละ 6.5 ของธุรกิจที่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายได้

แต่ในวันนี้ เรากำลังพูดถึงร้อยละ 50 ของผู้บริโภคมีธุรกรรมผ่านโมบายและมากกว่าร้อยละ 25 ของธุรกิจที่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายได้ (รายงานจาก Criteo) ซึ่งจะเห็นว่าธุรกรรมผ่านโมบายได้เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นและคิดว่าอนาคตจะมาทดแทนธุรกรรมแบบเดิมได้ทั้งหมด ธุรกรรมการซื้อขายทั้งหมดจะผ่านโมบายอย่างเดียว

            เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจะง่ายต่อการเข้าถึง เว็บไซต์ที่รองรับโมบายหมายถึงเว็บไซต์ปกติที่มีการแสดงเนื้อหาให้อ่านได้ง่ายบนหน้าจอโมบายที่มีขนาดเล็กและแคบกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ เรียกกันว่า การออกแบบเว็บไซต์ให้เป็น Responsive ซึ่งการลงทุนจะต่ำกว่าการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นมาก ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเว็บไซต์ปกติ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งเหมือนโมบายแอปพลิเคชั่น ที่สำคัญ มันยังช่วยให้ SEO ดีขึ้นด้วย เพิ่มผู้เข้าชมด้วยเสิร์ชเอ็นจิ้นมากขึ้น

            เราต้องไม่ลืมว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 60 ยังค้นหาข้อมูลทั้งสินค้าและบริการ รวมไปถึงราคา คุณสมบัติและอื่นๆ ผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น ดังนั้น เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจริงมีความสำคัญอย่างมาก คุณจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้รองรับโมบายด้วย ง่ายๆ เพียงแค่คุณลองเข้าเว็บไซต์ของคุณผ่านโมบายแล้วคุณยังสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องซูมและรำคาญมั้ย การออกแบบให้สนับสนุนโมบายจะช่วยให้โอกาสแปลงเป็นลูกค้ามากยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียลูกค้าของคุณได้มาก

            ดังนั้น เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจึงสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก เพราะเว็บไซต์ถือเป็นหนึ่งช่องทางติดต่อกับลูกค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

            แต่ช้าก่อน โมบายแอปพลิเคชั่นสามารถสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ดี ลูกค้าที่จงรักภักดีจะยินดีและชอบที่จะใช้แอปพลิเคชั่นมากกว่า ในความเป็นจริงแล้ว โมบายแอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า มีหน้าจอที่ง่ายต่อการใช้งานกว่า สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากกว่า เมือเทียบกับเว็บไซต์ที่รองรับโมบาย โมบายแอปพลิเคชั่นยังสามารถรองกับการใช้งานแบบ Offline ที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย เพียงแค่ผู้บริโภคจะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชั่นก่อนเท่านั้น นี่คืออุปสรรคใหญ่ แต่สำหรับลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณ เรื่องนี้คงจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่แน่นอน

โมบายเป็นอุปกรณ์ที่ใกล้ตัวผู้บริโภคที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด โมบายช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นอย่างมากจนนำไปสู่ธุรกรรมการซื้อขายในที่สุด ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องมีกลยุทธ์การตลาดผ่านโมบายที่ชัดเจน ด้วยการกำหนดเส้นทางของผู้บริโภค (Customer Journey) ที่จะเข้าถึงแบรนด์ของคุณ เช่น ลูกค้าใหม่ค้นหาแบรนด์ของคุณผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้นแล้วมายังเว็บไซต์ของคุณ คุณต้องออกแบบเว็บไซต์ที่รองรับโมบายด้วย

สำหรับลูกค้าที่จงรักภักดีกับแบรนด์ของคุณแล้ว คุณก็ต้องตัดสินใจว่าคุณควรจะพัฒนาเว็บไซต์ให้มีการใช้งานที่เป็นส่วนบุคคล (Personalization) มากขึ้น เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อเพิ่ม แล้วตัดสินใจต่อว่าจำเป็นมั้ยที่จะต้องพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในอีกระดับหนึ่ง

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th